วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

     (http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

      (http://courseware.rmutl.ac.th/courses/43/unit913.htm) กล่าวไว้ว่า มนุษย์มีศักยภาพตามธรรมชาติที่จะเรียนรู้ และการเรียนรู้จะได้ผลดีหากการเรียนรู้นั้นมีความหมาย หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้อย่างแท้จริง ส่วน มาสโลว์ (Maslow) เน้นเรื่องการเรียนรู้เป็นการพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญสูงสุดของ ตน ( Self Actualization ) โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเป็นดีโดยกำเนิด ทุกคนต้องการกระทำดี ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนไปจนเจริญสูงสุด

     (http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=plan-kkw&month=10-2009&date=05&group=23&gblog=4) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า มนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดง- ออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักบรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียน

สรุป
     การเรียนรู้จะได้ผลดีหากผู้เรียนมีความเป็นอิสระ ปราศจากสิ่งรบกวน ข่มขู่หรือขัดขวาง และผู้เรียนจะต้องเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดง- ออก

อ้างอิง
     URL:(http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm). เข้าถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL:(http://courseware.rmutl.ac.th/courses/43/unit913.htm). เข้าถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL:(
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=plan-kkw&month=10-2009&date=05&group=23&gblog=4). เข้าถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น