วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) 
    
     (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
   
    (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ


     (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจวิธี


     (http://www.neric-club.com/data.php?page=17&menu_id=76) ได้กล่าว่า วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ตเป็นไปตามแนวคิดของแฮร์บาร์ต ที่ว่า การที่นักเรียนจะเรียนรู้สิ่งใดนั้นนักเรียนจะต้องสนใจเป็นเบื้องแรก ครูผู้สอนจำเป็นต้องเร้าความสนใจของนักเรียนก่อนเข้าสู่ขั้นของการสอนเพื่อให้เกิดเรียนรู้


     (http://swupds.blogspot.com/2008/09/blog-post_5917.html) ได้กล่าวว่า ความสนใจ เป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งของการเรียนรู้ และการสอนที่ดี ความสนใจหากเป็นไปเองโดยธรรมชาติก็ย่อมได้รับผลดี แต่ถ้าจำเป็นจะต้องทำให้เกิดขึ้นหรือบังคับสนใจ ก็อาจจะทำได้แต่ผลที่ได้รับจะไม่เป็นที่น่าพึง และเป็นไปได้ไม่นาน การชักจูงให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นโดยไม่ต้องใช้อำนาจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการ บังคับนั้นจำเป็นต้องอาศัยความสามารถของผู้สอน และเด็กจะต้องรู้สึกสนใจในวิชาที่ครูสอนอย่างจริงจัง จึงจะสามารถนำความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เก่าได้


สรุป    
     การรับรู้และการเชื่อมโยงจะประกอบไปด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 และต้องมีการเรียนรู้ 3ระดับ คือการจำ การคิดรวบยอด และความเข้าใจ


เอกสารอ้างอิง
      URL:http://dontong52.blogspot.com/. เข้าถึง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554  
     URL:(http://www.neric-club.com/data.php?page=17&menu_id=76). เข้าถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
     URL:(http://swupds.blogspot.com/2008/09/blog-post_5917.html). เข้าถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)  


     (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก

    
     (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ คนสังคม คนธรรม


     (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5

    (http://neric-club.com/data.php?page=48&menu_id=76) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า วิธีนี้ใช้วิธีสอนโดยให้ผู้เรียนพบปะคลุกคลีกับเจ้าของภาษาโดยตรง เป็นวิธีที่จะต้องลงทุนมาก เพราะจะต้องจ้างครูอังกฤษหรืออเมริกา หรือครูไทยที่พูดภาษาอังกฤษเก่ง ๆ มาสอน หรือส่งผู้เรียนไปยังประเทศเจ้าของภาษา การสอนใช้วิธีพูดเป็นหลัก และผู้สอนจะเน้นเรื่องคำศัพท์มาก โดยถือว่าการเรียนภาษานั้นคือการเรียนคำศัพท์ ถ้านักเรียนรู้จักคำศัพท์มากก็ถือว่านักเรียนคนนั้นรู้ภาษาดี ส่วนไวยากรณ์ที่เรียนนั้นก็เป็นแบบให้คำจำกัดความและกฎเกณฑ์ และเนื้อเรื่องที่เรียนก็มักจะยึดเอาเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นเกณฑ์ เช่น วันที่อากาศครึ้มฝนตก ครูมักจะคุยกับนักเรียนเรื่องฝนหรือเรื่องอื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจอยู่ในขณะนั้น 


     (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%8C%E0%B8%B1%E0%B8%81_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%8B) ได้กล่าวไว้ว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"

สรุป
     ควรมีการจัดการศึกษาให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พัฒนาไปตามธรรมชาติ และควรมีของเล่นให้เด็กได้เล่นเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านอารมณ์ด้วย


เอกสารอ้างอิง
     URL:http://dontong52.blogspot.com/. เข้าถึง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
     URL:(http://neric-club.com/data.php?page=48&menu_id=76). เข้าถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
     URL:(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%8C%E0%B8%B1%E0%B8%81_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%8B). เข้าถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) 
 
      John Locke (อ้างในทองหล่อ,พ.ศ.2520:หน้า 1) กล่าวว่าไว้ว่า จิตนั้นคือการที่คนเรารู้สึกตัว รู้ตัวทำอะไร คิดอะไร ความรู้ตัวนี้เรียกอีกหนึ่งว่าจิตสำนึก (Conscious)
    
     Wilhem Wundt (1879 อ้างในทองหล่อ,พ.ศ.2520:หน้า 8-9) กล่าวไว้ว่า จิตนั้นควรแยกออกได้ คล้ายสารประกอบทางเคมีสารต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนย่อยได้เรียกว่าธาตุ จิตก็เช่นกันสามารถแยกออกเป็นจิตธาตุได้ มี 2 ส่วน
     1.จิตธาตุสัมผัส (Sensation) คือ การทำงานของอวัยวะสัมผัสเมื่อมีสิ่งเร้า
     2.จิตธาตุรู้สึก (Feeling) คือการแปลผลจากการสัมผัสนั้น

     William James และ John Dewey (1890 อ้างในทองหล่อ,พ.ศ.2520:หน้า 13) กล่าวไว้ว่าจิตมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการทุกอย่างของร่างกายให้ปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม


     จอห์น ดิวอี้ (http://punyasophy.blogspot.com/2009/06/john-dewey.html) ได้กล่าวว่า การศึกษาที่ถูกต้อง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาแบบเก่าหรือแบบจารีต (Traditional) หรือแบบอนุรักษ์ (Conservative) กับการศึกษาแบบใหม่หรือแบบก้าวหน้า (Progressive) เพียงระบบใดระบบหนึ่ง ปรัชญาของดิวอี้เป็นปรัชญาที่สะท้อนออกมาเด่นชัดในเรื่องการศึกษาที่ยกย่องประสบการณ์ทั้งปวงที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้สถานการณ์ที่เป็นจริง

สรุป
     จิต คือ ความรู้สึกต่างๆ ที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกาย โดยความรู้สึกนึกคิด และการทำงานของอวัยวะต่างๆ จากการสัมผัส และ แปลผล จึงทำให้เกิดจิตขึ้น

เอกสารอ้างอิง
     ทองหล่อ วงษ์อินทร์ (ปี พ.ศ.2520). เรื่อง แนวทัศนะของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ.ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการศึกษา.โรงพิมพ์ ชัยศิริการพิมพ์. จังหวัด นนทบุรี.
     ปรัชญาวิทยาสาสตร์ (http://punyasophy.blogspot.com/2009/06/john-dewey.html).เข้าถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554