ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)
John Locke (อ้างในทองหล่อ,พ.ศ.2520:หน้า 1) กล่าวว่าไว้ว่า จิตนั้นคือการที่คนเรารู้สึกตัว รู้ตัวทำอะไร คิดอะไร ความรู้ตัวนี้เรียกอีกหนึ่งว่าจิตสำนึก (Conscious)
Wilhem Wundt (1879 อ้างในทองหล่อ,พ.ศ.2520:หน้า 8-9) กล่าวไว้ว่า จิตนั้นควรแยกออกได้ คล้ายสารประกอบทางเคมีสารต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนย่อยได้เรียกว่าธาตุ จิตก็เช่นกันสามารถแยกออกเป็นจิตธาตุได้ มี 2 ส่วน
1.จิตธาตุสัมผัส (Sensation) คือ การทำงานของอวัยวะสัมผัสเมื่อมีสิ่งเร้า
2.จิตธาตุรู้สึก (Feeling) คือการแปลผลจากการสัมผัสนั้น
William James และ John Dewey (1890 อ้างในทองหล่อ,พ.ศ.2520:หน้า 13) กล่าวไว้ว่าจิตมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการทุกอย่างของร่างกายให้ปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
จอห์น ดิวอี้ (http://punyasophy.blogspot.com/2009/06/john-dewey.html) ได้กล่าวว่า การศึกษาที่ถูกต้อง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาแบบเก่าหรือแบบจารีต (Traditional) หรือแบบอนุรักษ์ (Conservative) กับการศึกษาแบบใหม่หรือแบบก้าวหน้า (Progressive) เพียงระบบใดระบบหนึ่ง ปรัชญาของดิวอี้เป็นปรัชญาที่สะท้อนออกมาเด่นชัดในเรื่องการศึกษาที่ยกย่องประสบการณ์ทั้งปวงที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้สถานการณ์ที่เป็นจริง
สรุป
จิต คือ ความรู้สึกต่างๆ ที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกาย โดยความรู้สึกนึกคิด และการทำงานของอวัยวะต่างๆ จากการสัมผัส และ แปลผล จึงทำให้เกิดจิตขึ้น
เอกสารอ้างอิง
ทองหล่อ วงษ์อินทร์ (ปี พ.ศ.2520). เรื่อง แนวทัศนะของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ.ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการศึกษา.โรงพิมพ์ ชัยศิริการพิมพ์. จังหวัด นนทบุรี.
ปรัชญาวิทยาสาสตร์ (http://punyasophy.blogspot.com/2009/06/john-dewey.html).เข้าถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น